top of page

AIR BUBBLE

SUT  Foaming Agent for Lightweight Cellular Concrete  หมายถึง สารสร้างฟองอากาศแล้วนำไปผสมกับมอร์ต้า แล้วทำให้เกิดฟองอากาศเข้าไปแทรกในมอร์ต้า เรียกว่า คอนกรีตมวลเบาแอลซีซี

สารสร้างฟองอากาศ (Air Bubble) หมายถึง สารผสมเพิ่มประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่กระจายฟองอากาศแทรกในเนื้อคอนกรีตมวลเบาเซลล์กรีต แล้วทำให้มีน้ำหนักเบา และจัดเป็นสารลดแรงตึงผิว (Surfactants) ชนิดหนึ่ง สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทคือสารเพิ่มฟองชนิดสังเคราะห์ (Synthetic) และชนิดโปรตีนธรรมชาติ (Protein-based) จาก พืช หรือ สัตว์ สร้างสารฟองโฟมต้องมีความแข็งแรง การยุบตัวต่ำ เนื่องจากเมื่อนำสารสร้างฟองโฟมผ่านเครื่องสร้างฟองโฟม ผสมลงไปในซีเมนต์มอร์ต้า ในเครื่องผสมคอนกรีต สารสร้างฟองโฟมจะต้องไม่ยุบตัวหรือยุบตัวต่ำ เนื่องจากถ้าสารสร้างฟองโฟมยุบตัวมากเกินไปจะทำให้ไม่มีลักษณะโพรงอากาศ โดยกระจายอยู่ทั่วไปภายในคอนกรีตเซลลูล่าที่มีขนาดประมาณ 100-200 ไมครอน ลักษณะสารสร้างฟองโฟมเข็มข้น 1 ลิตร สามารถจะเจือจางน้ำสะอาดได้ประมาณ 30-50 ลิตร ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสร้างสารฟองโฟม และต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานการทดสอบ ASTM C796,C869

คุณสมบัติเด่น

  • ค่าความเป็น กรด-ด่าง (PH) มีค่าประมาณ  7.0 – 8.5

  • ค่าความถ่วงจำเพาะ 1-1.05

  • ขนาดบรรจุ  5 และ 20 ลิตร

  • อัตราส่วนเจือจางน้ำยาสร้างฟองอากาศผสมกับน้ำ อัตราส่วน 1 ต่อ 40

  • การยุบตัวของฟองอากาศ 1-2 ชั่วโมง

  • ขนาดของฟองอากาศประมาณ 200-300 ไมครอน

  • สารสร้างฟองอากาศ ชนิดสังเคราะห์ และ ธรรมชาติ

น้ำยาสร้างฟองโฟม SUT V2.1 เป็นการคิดค้นวิจัย ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มายาวนานกว่า 10 ปี จนได้มีการปรับปรุงให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จนได้สูตรน้ำยา SUT V2.1 ที่สังกัดมาจากพืช และมีความคงทนของฟองโฟมที่สูง มีราคาต่ำ ประสิทธิภาพเทียบเท่าน้ำยาในท้องตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เป็นความภาคภูมิใจของทีมนักวิจัย มทส. เป็นอย่างมากที่สามารถคิดค้นให้น้ำยาสร้างฟองโฟมเป็นของคนไทย พร้อมได้มีการทดสอบแสดงผลในสอดคล้องกับมาตรฐาน ASTM

โปรแกรมออกแบบสัดส่วนคอนกรีตมวลเบาแอลซีซี (LCC. Mix Design program)

โปรแกรมออกแบบสัดส่วนคอนกรีตมวลเบาแอลซีซี (LCC. Mix Design program) เป็นสิ่งที่สำคัญมากการผลิตคอนกรีต LCC เครื่องมือกับ Mix design ต้องทำการออกแบบให้สอดคล้องกัน ในประเทศไทยยังไม่มีการเรียนการสอนและหนังสือให้ค้นคว้า ด้านการออกแบบด้านนี้ โปรแกรม Mix Design program เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จนกระทั้งสามารถนำ Mix Design LCC. นำมาเขียนในรูปแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประยุกต์ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำไปใช้ได้กับน้ำยาสร้างฟองอากาศ และเครื่องมือ ของที่อื่นได้ พร้อมกับการทดสอบเปรียบเทียบผลการออกแบบกับการทดสอบ มากกว่า 1000 ตัวอย่าง ปัจจุบันได้พัฒนาเวอร์ชั่นที่ 4.1 ภายใต้ชื่อโปรแกรม Concrete Cellular Mix Design Version 4.1 จนได้ค่าที่ออกแบบมีความแม่นย้ำกับกำลังรับแรงอัดที่คาดการณ์ไว้ และสามารถควบคุมความหนาแน่นตามมาตราฐานของผลิตภัณฑ์

bottom of page